หลังจาก สธ. ทำแผนจัดสรรวัคซีนลงแต่ละจังหวัดให้ครอบคลุม 70% ของประชากร ระหว่างมิ.ย. – ก.ย. 64 ซึ่งเมื่อรวมตัวเลข หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า ทำไมจังหวัดที่ติดเชื้อสะสมสูงบางจังหวัด ได้รับวัคซีนน้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ กรุงเทพธุรกิจ รวบรวมข้อมูลมา ดังนี้
แผนการจัดสรรวัคซีน ของ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประเทศไทย ได้กำหนดให้วัคซีน AstraZeneca เป็นวัคซีนหลักสำหรับการป้องกันโรคโควิด 19 โดยรอบแรกมีการจัดหาวัคซีน AstraZeneca จำนวน 35 ล้านโดส เพื่อฉีดวัคซีนปูพรมเป็นเข็มที่ 1 ระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน 2564
จากนั้น ฉีดวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1. เพื่อให้ประชากร ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 50 ล้านคน ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ร้อยละ 70 ภายในเดือนกันยายน 2564 ด้วยความสมัครใจ (จำเป็นต้องใช้วัคซีนชนิดอื่นเพิ่มเติมอีก 11 ล้านโดส) 2. มีการลงทะเบียนผ่านหมอพร้อมเพื่อควบคุมการแพร่เชื้อในพื้นที่ระบาดรุนแรงให้สงบโดยเร็ว 3. เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิตในประชากรกลุ่มเสี่ยง 4. เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศ ตามแผนที่กำหนด
- จัดลำดับพื้นที่เร่งด่วน
ลำดับความเร่งด่วนของพื้นที่ในการฉีดวัคซีนโควิด เดือนมิถุนายน – กันยายน 2564 ประชาชนได้รับวัคซีนเข็ม 1 ภายในระยะเวลา 4 เดือนแรก ได้แก่
กลุ่มสีแดง ที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เช่น พื้นที่ควบคุมสุงสุดและเข้มงวด ได้แก่ กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี (ภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม) และ จังหวัดที่มีแผนเปิดการท่องเที่ยว ได้แก่ ภูเก็ต (ภายในเดือนมิถุนายน) รวม 5 จังหวัด
กลุ่มสีส้ม จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีความเร่งด่วนในการเตรียมความ พร้อมรองรับสถานการณ์ภายหลังการระบาด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย สงขลา สระแก้ว ตาก มุกดาหาร นราธิวาส ระนอง หนองคาย สุราษฏร์ธานี (อ.เกาะสมุย) พังงา กระบี่ จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร รวม 17 จังหวัด และ
กลุ่มสีเขียว ได้แก่จังหวัดที่เหลือของประเทศไทยรวม 55 จังหวัด
- แผนฉีดวัคซีน 70% ของประชากร
สำหรับ ระยะเวลาที่แต่ละจังหวัดให้บริการวัคซีนเข็มที่ 1 ครบร้อย 70 ของประชากร ได้แก่
มิ.ย. ภูเก็ต
ก.ค. กรุงเทพมหานคร กระบี่ พังงา
ส.ค. นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี สุราษฎร์ธานี
ก.ย. ทั้ง 66 จังหวัด
- 10 จังหวัดติดเชื้อสะสมสูงสุด
สำหรับ 10 จังหวัดติดเชื้อสะสมสูงสุด (1 เม.ย. – 26 พ.ค. 64) ได้แก่ อันดับ 1 กทม. 36,542 ราย อันดับ 2 นนทบุรี 6,159 ราย อันดับ 3 สมุทรปราการ 5,681 ราย อันดับ 4 ชลบุรี 4,341 ราย อันดับ 5 เชียงใหม่ 4,045 ราย อันดับ 6 เพชรบุรี 3,482 ราย อันดับ 7 ปทุมธานี 3,136 ราย อันดับ 8 สมุทรสาคร 2,284 ราย อันดับ 9 สุราษฎร์ธานี 1,625 ราย อันดับ 10 ประจวบคีรีขันธ์ 1,610 ราย
- แผนกระจายวัคซีน 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด
1. กทม. จัดสรร มี.ค.-พ.ค. แล้ว 3.69 แสนโดส มิ.ย. 2.5ล้านโดส/ก.ค. 2.5 ล้านโดส
2. นนทบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 5.22 หมื่นโดส /มิ.ย. 6.4หมื่นโดส/ก.ค.6.45แสนโดส/ส.ค.3.65 แสนโดส
3. สมุทรปราการ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 3.36 หมื่นโดส /มิ.ย. 2.37 แสนโดส/ก.ค.4.87 แสนโดส/ส.ค.5.92 แสนโดส
4. ชลบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 7.65หมื่นโดส /มิ.ย.5.4หมื่นโดส/ ก.ค.5.56แสนโดส/ส.ค.7.46แสนโดส
5. เชียงใหม่ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว7.76หมื่นโดส/มิ.ย. 6.8 หมื่นโดส/ก.ค.4.19แสนโดส/ส.ค.2.38แสนโดส/ก.ย.4.08แสนโดส
6. เพชรบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 1.62 หมื่นโดส มิ.ย.2.4หมื่โดส/ ก.ค.8.4หมื่นโดส/ส.ค.5.4หมื่นโดส/ก.ย.1.75แสนโดส
7. ปทุมธานี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 3.39หมื่นโดส/มิ.ย. 6.7หมื่นโดส/ก.ค.6.24แสนโดส/ส.ค.3.54แสนโดส
8. สมุทรสาคร จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 1.07 แสนโดส/มิ.ย.5.6หมื่นโดส/ ก.ค.3.36 แสนโดส /ส.ค.1.68 แสนโดส
9. สุราษฎร์ธานี จัดสรร มี.ค.-พ.ค.แล้ว 6.52 หมื่นโดส/มิ.ย. 8.8 หมื่นโดส/ก.ค.4.27แสนโดส/ส.ค.2.21 แสนโดส
10. ประจวบคีรีขันธ์ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 2.23หมื่นโดส/มิ.ย. 2.7หมื่นโดส/ก.ค.9.9หมื่นโดส/ส.ค.5.7หมื่นโดส/ก.ย.1.99แสนโดส
- 10 จังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนสูงสุด มิ.ย. – ก.ย.
ทั้งนี้ หากดูข้อมูล 10 จังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนสูงสุด มิ.ย. – ก.ย. (แผนวันที่ 17 พ.ค. 64) จะพบว่า
อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร
ประชากรทั้งหมด 7,699,174 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 5,389,422 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 369,631 คน
รอวัคซีน 5,019,791 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 5,020,000 โดส
อันดับ 2 จ.นครราชสีมา
ประชากรทั้งหมด 2,692,889 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,885,023 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 42,040 คน
รอวัคซีน 1,842,983 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,842,000 โดส
อันดับที่ 3 จ.ชลบุรี
ประชากรทั้งหมด 2,047,621 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,433,335 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 76,550 คน
รอวัคซีน 1,356,785 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,356,000 โดส
อันดับ 4 จ.สมุทรปราการ
ประชากรทั้งหมด 1,931,726 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,352,208 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 36,600 คน
รอวัคซีน 1,315,608 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,316,000 โดส
อันดับ 5 จ.ขอนแก่น
ประชากรทั้งหมด 1,837,004 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,285,903 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 30,780 คน
รอวัคซีน 1,255,123 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,255,000 โดส
อันดับ 6 จ.อุบลราชธานี
ประชากรทั้งหมด 1,799,873 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,259,911 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 23,980 คน
รอวัคซีน 1,235,931 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,236,000 โดส
อันดับ 7 จ.เชียงใหม่
ประชากรทั้งหมด 1,729,353 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,210,547 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 77,670 คน
รอวัคซีน 1,132,878 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,133,000 โดส
อันดับ 8 จ.นครศรีธรรมราช
ประชากรทั้งหมด 1,575,117 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,102,582 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 23,280 คน
รอวัคซีน 1,079,302 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,080,000 โดส
อันดับ 9 จ.นนทบุรี
ประชากรทั้งหมด 1,609,191 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,126,434 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 52,205 คน
รอวัคซีน 1,074,229 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,074,000 โดส
อันดับ 10 จ.อุดรธานี
ประชากรทั้งหมด 1,565,739 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,096,018 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 25,430 คน
รอวัคซีน 1,070,588 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,071,000 โดส
- ทำไมบางจังหวัดติดเชื้อไม่สูง แต่ได้วัคซีนเยอะ
หากมองจำนวนวัคซีนที่จะได้รับตั้งแต่ มิ.ย. – ก.ย. หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมในบางจังหวัด ที่ได้วัคซีนเยอะ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด อย่าง ขอนแก่น อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช และอุดรธานี
นั่นเพราะว่า จำนวนทั้งหมด ได้คำนวณจาก 70% ของประชากรทั้งจังหวัดที่จะต้องได้รับวัคซีน เมื่อนำไปหักกับตัวเลขที่ได้รับวัคซีนไปในช่วง มี.ค.-พ.ค. ก็ยังพบว่า คนที่ไม่ได้รับวัคซีนยังเป็นสัดส่วนที่สูงอยู่
จ.ขอนแก่น พบว่า ประชากรทั้งหมด 1,837,004 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีด 1,285,903 คน ทั้งนี้ ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 30,780 คน รอวัคซีน 1,255,123 คน จึงได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,255,000 โดส
จ.อุบลราชธานี ประชากรทั้งหมด 1,799,873 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีดจำนวน 1,259,911 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 23,980 คน รอวัคซีน 1,235,931 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,236,000 โดส
จ.นครศรีธรรมราช ประชากรทั้งหมด 1,575,117 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องจำนวน 1,102,582 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 23,280 คน รอวัคซีน 1,079,302 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,080,000 โดส
จ.อุดรธานี ประชากรทั้งหมด 1,565,739 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีดจำนวน 1,096,018 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 25,430 คน รอวัคซีน 1,070,588 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,071,000 โดส
- ทำไม 5 จังหวัด ติดเชื้อสูงสุด ไม่ได้รับวัคซีนมากสุด
ทั้งนี้ ในจำนวน 5 จังหวัด ที่ติด 10 อันดับ ติดเชื้อสะสมสูงสุดอย่าง เพชรบุรี ปทุมธานี สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสาคร แต่กลับไม่ได้อยู่ในลิสต์รายชื่อ 10 อันดับได้รับวัคซีนสูงสุด นั่นเพราะหากคิด 70% ของจำนวนประชากรแล้ว มีสัดส่วนน้อยกว่า และบางจังหวัดได้รับการจัดสรรวัคซีนไปแล้วส่วนหนึ่งเมื่อเดือน มี.ค. – พ.ค. โดยเฉพาะสมุทรสาคร
จ.เพชรบุรี ประชากรทั้งหมด 502,826 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีดจำนวน 351,978 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 16,240 คน รอวัคซีน 335,738 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 337,000 โดส
จ.ปทุมธานี ประชากรทั้งหมด 1,533,781 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีดจำนวน 1,073,646 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 33,940 คน รอวัคซีน 1,039,706 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,040,000 โดส
ประจวบคีรีขันธ์ ประชากรทั้งหมด 578,093 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีดจำนวน 404,665 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 22,380 คน รอวัคซีน 382,285 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 382,000 โดส
จ.สุราษฎร์ธานี ประชากรทั้งหมด 1,144,089 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีดจำนวน 800,862 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 65,260 คน รอวัคซีน 735,602 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 736,000 โดส
จ.สมุทรสาคร ประชากรทั้งหมด 953,167 คน หากฉีดครอบคลุม 70% ต้องฉีดจำนวน 667,217 คน ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 107,920 คน รอวัคซีน 559,297 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 560,000 โดส
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า จังหวัดที่มีการระบาดหนักอย่าง “สมุทรสาคร” มีการฉีดวัคซีนไปแล้วก่อนหน้ามากถึง 1.07 แสนโดส ถือเป็นจังหวัดที่ครอบคลุมประชากรมากที่สุดในไทยจากการระบาดระลอก 2 ที่ผ่านมา